Batman : Li’l Gotham #3 คืนเทศกาลคริสต์มาสที่กอทแธม
เรื่อง : DUSTIN NGUYEN และ DEREK FRIDOLFS
ภาพ : DUSTIN NGUYEN
วางจำหน่าย: 18 ธันวาคม 2012
สำนักพิมพ์ : DC Comics
ความตั้งใจที่สวนทางกัน
++——————————————————++
ในคืนวันคริสตมาส นักข่าวสาววิคกี้ (Vicky Vale) กำลังรายงานถึงเหล่าชาวเมืองผู้มารวมตัวกันที่กอทแธมพลาซ่า เพื่อรับชมพิธีเปิดไฟต้นคริสมาสต์ประจำปีนี้ นายกกล่าวสุนทรพจน์เป็นพิธี โดยชี้แจงว่า โดยปกติแล้วจะมีวงร้องประสานเสียงยุวชนมาร้องเพลงด้วย แต่สงสัยจะติดหิมะอยู่ เขาแกล้งสัพหยอกว่า ผบ.กอร์ดอน (Commissioner James “Jim” Gordon) จะร้องแทนได้หรือไม่ ซึ่งผู้ถูกพาดผิงก็ได้แต่เพียงยักไหล่แทนคำปฏิเสธ เรียกเสียงหัวเราะจากประชาชนได้เป็นอย่างดี
พูดไปซักพักพอเป็นพิธี นายยกก็กดปุ่มเปิดไฟต้นคริสต์มาสยักษ์ แสงแวววับส่องสว่างไปทั่วบริเวณ ประชาชนทุกคนต่างเบิกตากว้างด้วยความตื่นตาตื่นใจ
ผบ.กอร์ดอนเดินลงเวทีมา เจอกับสองหนุ่ม บรูซ (Bruce Wayne – Batman) และ ดิ๊ก (Dick Grayson – Nightwing) ดิ๊กแกล้งถามว่าท่านผู้การจะร้องเพลงตามคำขอไหม? เพราะเขาอยากขอเพลงรูดอลฟ์เสียหน่อย แต่กอร์ดอนก็ปฏิเสธว่าไม่ใช่งานของฉัน ก่อนกล่าวขอบคุณกับเศรษฐีผู้สนับสนุนงานนี้ตลอดมา
ท่านผู้การสังเกตุได้ว่าคราวนี้เดเมี่ยน (Damian Wayne – Robin) ไม่มาด้วย จึงถามหาว่าวันนี้ไม่มาป่วนหรือ? ดิ๊กตอบไปว่า เดเมี่ยนกำลังช่วยอัลเฟรด (Alfred Pennyworth) ตกแต่งบ้านอยู่ และสองคนนั้นน่าจะใช้เวลาร่วมกันได้ดี
แต่ก็เป็นอย่างที่เห็นในรูปน่ะนะ
กอร์ดอนชักสงสัยว่าทำไมวงร้องประสานเสียงยุวชนไม่มาเสียที เพราะพวกเขาไม่เคยพลาดงานนี้มาก่อนเลย แต่ในสภาพอย่างนี้ เขาก็ได้แต่หวังว่าเด็กพวกนั้นจะไม่ประสบอุบัติเหตุอะไรเสียก่อน ใช่ไหมคุณเวย์น เวย์น?
อ้าวเวร สองคนนั่นหายไปเสียแล้ว
ผู้การกอร์ดอนโดนทิ้งเดียวดายเหมือนทุกๆครั้งที่ผ่านมา จนเขาชักติดพูดคนเดียวเสียแล้ว ทันใดนั้น จู่ๆเขาก็คิดอะไรขึ้นได้ เขาถามตัวเองว่าทำไมไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะว่าที่จริงแล้ว บรูซ เวย์น มีตัวตนลับก็คือ…
“…ซานตาคลอส!”
เอิ่ม ท่านคะ ถึงคุณชายเวย์นจะ หนุ่ม ใจดี สปอร์ต ก(อ)ท(แธ)ม แต่ไม่ได้แก่ ใจดี เรนเดียร์ ขั้วโลกเหนือนะคะท่าน! (ยืมมุขพี่ voeten มาใช้นิดนึง XDDD)
อีกฝากฝั่ง ซานต้าตัวจริง(?)กำลังหัวเราะเสียงใส โดยที่ข้างหลังเขานั้น รถสีดำขลับก็เล่นผ่านเขาไปด้วยความรวดเร็วจนหิมะกระจุบเป็นละออง ข้างในรถนั้น แบทแมน ซึ่งเป็นตัวตนลับที่แท้จริงของมหาเศรษฐีตระกูลเวย์น กับไนท์วิงก์ หรือตัวตนลับของดิ๊ก เกรย์สัน กำลังติดต่ออัลเฟรดผู้แสนดีเพื่อให้เขาช่วยหาข้อมูลของบ้านเด็กกำพร้าที่เป็นเจ้าของวงร้องประสานเสียงยุวชนให้อยู่ พ่อบ้านเล่นมุขหน้าตายโดยถามว่า ทั้งคู่จะไปเข้าบ้านนั้นเพื่อฝึกมารยาทหรอครับ? มันไม่สายเกินไปที่จะเรียนมารยาท… สำหรับพวกคุณทุกคน เขาพูดขณะที่โดนเดเมี่ยนตัดหมวกซานต้าที่เขาใส่อยู่จนเห็นเหม่ง แบทแมนได้แต่รับว่านั่นเป็นสิ่งที่เขาพยายามทำอยู่ อัลเฟรดก็ชมด้วยสีหน้าเดิม “ใจหล่อมากครับท่าน”
แบทแมนลากเส้นทางที่รถโรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ไปยังจีพีเอส โดยเชื่อว่าจะช่วยหาเป้าหมายเจอได้
ไม่นานทั้งคู่ก็พบกับรถบัสสีเหลืองจมอยู่ในหิมะ แบทแมนคิดว่าเพราะถนนที่เป็นน้ำแข็ง ทำให้รถควบคุมไม่ได้ แต่ไนท์วิงก์ที่ล่วงหน้าไปก่อน บอกเขาว่า น่าจะมีใครมาเอี่ยวด้วยมากกว่า เพราะในรถนั้น มีคุณครูสองคนนั่งมือแข็งเป็นน้ำแข็ง เป็นน้ำแข็งจริงๆ มาแบบก้อนๆ นั่งตัวสั่นงกๆ แบทแมนที่เห็นดังนั้นก็ไม่รอช้า บอกให้ทั้งคู่ใจเย็นๆแล้วละลายน้ำแข็งให้ทันที
เสร็จแล้ว เขาก็บอกให้ครูทั้งสองคนรออยู่ที่นี่เพราะจะปลอดภัยกว่า ให้อยู่เฉยๆ และพยายามทำตัวให้อุ่นไว้ ครูกล่าวขอบคุณและชี้ทางที่พวกเด็กๆถูกพาไปให้ แถมสำทับว่าให้รีบๆด้วย (แหม แอบสั่ง)
แป๊ปเดียว แบทแมนก็พบกับเป้าหมาย ซึ่งทำให้เขาตกใจวูบหนึ่ง เพราะสิ่งที่เขาพบคือลูกแก้วหิมะขนาดยักษ์ระดับบรรจุตัวคนได้อย่างไม่ยากเย็น! และคนที่สร้างอะไรเกี่ยวกับหิมะและน้ำแข็งแบบนี้ได้ มีเพียงคนเดียวในกอทแธมเท่านั้น และเขาก็คือ
“ฟรีซ!”
“ปล่อยเด็กเดี๋ยวนี้นะ วิกเตอร์!” แบทแมนว่าพร้อมกับสไลด์หิมะลงมา แต่มิสเตอร์ฟรีซหรือวิกเตอร์ (Victor Fries — Mr. Freeze) ก็ไม่ได้สนใจคำพวกนั้นเลย เอาแต่ยืนดูเด็กๆ พร้อมพูดโดยไม่หันไปมอง ว่าเขาไม่ได้จับเด็กพวกนี้มาเป็นนักโทษหรอกนะ เด็กแต่ละคนก็เหมือนเกล็ดหิมะ — มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละบุคคล เป็นสิ่งล้ำค่า แล้วก็บอบบางเสียเหลือเกิน เขาเลยตั้งใจที่จะปกป้องเด็กๆพวกนี้จากความลำบากและความโหดร้ายของเมืองกอทแธม ให้ไปอยู่ในบ้านที่ควรอยู่ ไม่ใช้ต้องถูกพามาร้องเพลงในวันหยุดแบบนี้
มิสเตอร์ฟรีซจับจ้องเหล่าเด็กๆที่เล่นกันสนุกสนานอยู่ในลูกแก้วหิมะ ก่อนผละมาตั้งปืนพร้อมบอกคำขาด ว่าพวกเขาจะพาเด็กพวกนี้กลับไปด้วยกัน และเราจะอยู่กันอย่างสันโดษจากความชั่วร้ายของโลกใบนี้ ฉันคือผู้ปกป้องพวกเขา ผู้คุ้มครองพวกเขา
ไนท์วิงก์เห็นว่านี่มันเป็นการลักพาตัวชัดๆ จึงสวนกลับไปว่า “เป็นคนที่จบตัวพวกเขามาล่ะซิไม่ว่า!” แบทแมนก็เสริมเข้าไปว่า “ถ้านายไม่ปล่อยเด็กๆไปล่ะก็นะ วิกเตอร์ ฉันจะทำเอง”
แต่วิกเตอร์ก็ไม่ได้สะทกสะท้าน ซ้ำยังท้าทายด้วยการยิงปืนน้ำแข็ง
ทั้งไนท์วิงก์และแบทแมนต่างกระโจนหลบ แต่ในช่วงจังหวะนั้นเอง แบทแมนก็ขว้างแบทตาแรงไปอย่างรวดเร็ว
“ความเย็นทำให้นายเล็งพลาดนะ แบทแมน” วิกเตอร์หลบอาวุธนั่นอย่างง่ายดาย แต่แล้วแบทตาแรงก็วกกลับเจาะถังหล่อเย็นของเขาจังๆ!
ไนท์วิงก์ฉวยโอกาสขึ้นไปบนลูกแก้วหิมะเพื่อช่วยเด็กๆ “เด็กๆทุกคนอยู่ในนั้นเป็นอะไรไหม?”
“พวกเราสบายดี แต่ป๊อปคอร์นเราหมดแล้วอ่ะคร้าบ”
“ปล่อยเด็กไปซะ วิกเตอร์ นายทำความดีได้ด้วยวิธีอื่นนะ” แบทแมนกล่าว ขณะที่มิสเตอร์ฟรีซที่โจมตีต่อไม่ได้เพราะถังหล่อเย็นที่จะใช้ยิงลำแสงแช่แข็งรั่วได้แต่ยืนหน้าเสีย ในบรรยากาศเคร่งเครียดนั้น ไนท์วิงก์ก็ตีลังกาลงมา
เขาเสนองานดีๆให้มิสเตอร์ฟรีซ ทั้งงานขัดลานฮ๊อกกี้น้ำแข็งให้กับทีมกอทแธมเบลดส์ก็ดี หรือไปเป็นคนคุมหมีขาวให้กับคณะละครสัตว์ฮาลีย์’ส ที่ดิ๊กเคยอยู่ก็ดี ไม่ก็ไปขายไอศกรีมก็ดี เพราะไนท์วิงก์มั่นใจว่าอีกฝ่ายต้องทำมันได้ดีแน่ๆ! แต่เขาไม่ได้หมายความว่าอีกฝ่ายจะ… เอ่อ… ช่างเถอะ เขาคิดว่าวิกเตอร์ต้องเข้าใจแน่ล่ะ
พวกเด็กๆที่ได้ยินคำว่าไอศกรีมก็พลันตาโต ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ “ไอศกรีม!? พวกเราอยากกินไอศกรีม!!”
วิกเตอร์ยกมือปิดหูเป็นพลันวัน ปากได้เพียงแต่ขอร้องให้เด็กๆเงียบลงเสียที
มิสเตอร์ฟรีซพ่ายแพ้ไปเพราะทนเสียงของเด็กๆที่ตนเองบอกว่าจะดูแล แบทแมนจึงได้โอกาสสั่งสอนอีกฝ่าย
“เด็กทุกคนควรได้ยิน ว่าคนที่จะให้ความรักความเอาใจใส่ในแบบพวกเขา ถูกรักและถูกปกป้องได้ ล้วนต่างเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ทั้งสิ้น”
“และเด็กทุกคนต้องการพ่อแม่ด้วยกันทั้งนั้น”
(เหมือนเปรียบเทียบว่า เขารู้ว่าทุกคนต้องการการดูแล ความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ แต่สิ่งที่มิสเตอร์ฟรีซทำ โดยการพยายามลักพาตัวเด็กๆไปเก็บไว้กับตัวเอง ก็ไม่สามารถทดแทนการที่เด็กพวกนี้ไม่มีพ่อแม่ได้)
หน้าของแบทแมนนิ่งไป คล้ายหวนถึงชีวิตที่ผ่านมาโดยไม่มีพ่อแม่เช่นเดียวกันกับเด็กๆในลูกแก้วหิมะข้างหน้าตน
มิสเตอร์ฟรีซทรุดลง นิ่งไปครู่หนึ่ง ก่อนพูดออกคล้ายยอมรับ “เราไม่ได้ยึกถือแนวทางปฏิบัติเดียวกัน แต่ฉันรู้สึกว่าเราก็มีความตั้งใจเหมือนกัน”
“เด็กๆ ถอยออกไปจากน้ำแข็งหน่อย ฉันจะช่วยเธอออกมาเอง” แบทแมนเตรียมละลายน้ำแข็ง แต่ไนท์วิงก์ยกมือขึ้นมาห้ามไว้
“เดี๋ยวก่อน มันมีประตูอยู่ที่อีกฝั่งหนึ่ง” ไนท์วิงก์โชว์เด็กคนหนึ่งให้อีกฝ่ายดู “ผมเอาเด็กออกมาด้วยวิธีนั้นแหละ มันไม่ได้ล็อกด้วยซ้ำ แถมยังมีสไลเดอร์น้ำแข็งสุดเจ๋งติดอยู่ด้วยต่างหาก”
วิกเตอร์พูดด้วยเสียงอ่อยๆ “ก็ฉันชอบสไลเดอร์…”
ไม่นานนัก เด็กๆทุกคนก็ออกมาจนครบ แล้วเด็กคนหนึ่งก็ถามมิสเตอร์ฟรีซว่า “เฮ้ คุณครับ คุณจะไปกับพวกเราหรือเปล่า? เราจะไปร้องเพลงกันคืนนี้ มันจะต้องสนุกแน่ๆครับ”
“ไม่ เด็กน้อย ฉันไม่ร้องเพลง” วิกเตอร์ที่นั่งคอตกตั้งแต่เมื่อครู่ก็ปฏิเสธไป
แต่เด็กน้อยก็ยังรบเร้าว่าถ้าเขาไม่ไปปีนี้ ก็ไปปีหน้านะครับ
ตัดฉากมาที่โรงพยาบาลจิตเวชอาร์คัม (Arkham Asylum) เหล่านักโทษกำลังฉลองวันคริสต์มาสในห้องพักของตัวเอง ทั้งเอ็ดเวิร์ด (Edward Nigma — Riddler) ที่นั่งพิมพ์ดีดอยู่ที่ชั้นบน ฮาร์ลีน (Harleen Quinzel — Harley Quinn) กับ โจ๊กเกอร์ (Joker) กำลังร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานพร้อมแลกของขวัญให้กันผ่านทางผู้คุมที่ชั้นกลาง ส่วนชั้นล่าง ออสวอลด์ (Oswald Cobblepot – Penguin) นั่งอ่านหนังสือกับฝูงนกเพนกวินของเขาด้วยรอยยิ้ม และเจนน่า (Jenna Duffy — Carpenter) กำลังสร้างของเล่นคริสต์มาสอย่างตั้งอกตั้งใจ รวมทั้งคนไม่ใกล้ไม่ไกล พาเมล่า (Pamela Isley — Poison Ivy) ส่งเสียงทักทายผู้คุมที่เดินผ่านมาอย่างเป็นกันเอง
“สวัสดีค่าาาาาาาาาาา คาร์ลลลลลลลล…”
“สะ สะ สะ สวัสดีคร้าบ คุณอิสลีย์… สะ สะ สุขสสันต์วันคะ คะ ริสต์มาสครับ…”
ในอีกฝากหนึ่งที่แทบไร้ผู้คน ผู้คุมที่เดินผ่านห้องขั้งที่ทำจากน้ำแข็งไปพูดขึ้นมากับเพื่อนของเขา
“นายได้ยินป่ะว่าเขายอมมามอบตัวเอง? แทบไม่มีการขัดขืนเลยด้วยซ้ำ”
“จริงเด่ะ?”
“เออ ข้าหมายความว่า… ทำไมนายจะไม่ทำงั้นล่ะ? เพราะดูท่าเขาจะไม่มีใครให้กลับบบ้านไปหาอยู่แล้ว ช่างเป็นคนที่น่าสงสารจริงๆ”
วิกเตอร์นั่งอยู่อย่างเงียบเหงาเศร้าซึมในห้องขัง… จริงอย่างที่พวกผู้คุมว่า ว่าเขาไม่มีใครให้กลับไปหา ทั้งพ่อแม่ หรือภรรยา เขาต้องอยู่คนเดียวอย่างโดดเดี่ยวในวันคริสมาสต์นี้อย่างเงียบงัน
แต่ทันใดนั้น เขาก็ได้ยินเสียงเล็กๆลอยแว่วมามา
“Siiiilent Niiiight…”
วิกเตอร์หันมองควับ เขาลุกจากเตียงไปที่หน้าต่าง มองลงไปข้างนอก ซึ่งเป็นที่มาของเสียงเพลงเวลานี้
“…Hoooooly Niiiiiight…”
และภาพที่ปรากฏอยู่ภายนอกคุก คือวงไควเออร์ยุวชนและครอบครัวค้างคาวมาร่วมกันร้องเพลงท่ามกลางหิมะให้กับเขานั่นเอง
“….All is calm…”
“…All is bright…”
ชายผู้คุ้นเคยแต่กับความเย็นชายืนนิ่งอยู่ที่หน้าต่าง ก่อนจะยิ้มน้อยๆออกมาช้าๆกับสิ่งที่ทุกคนทำให้เขา
“…Sleep in Heavenly peace…”
วิกเตอร์ ฟรีส รู้ตัวว่าเขาไม่ได้โดดเดี่ยวอีกต่อไปแล้ว
สุขสันต์วันคริสต์มาส! พบกันได้ใหม่อีกครั้งในฉบับปีใหม่นะเออ!
++——————————————————++
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
วง Choir, Chorus และเพลงคริสต์มาส
วง Choir หรือวง Chorus มีชื่อภาษาไทยว่า “คายกคณะ” หรือ “นักร้องหมู่” เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับร้องบทเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มได้รับความนิยมและนำมาร้องกันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายก ที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำ ของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามแต่ในระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนว ทำนองสอดประสานกันไป
สำหรับข้อมูลย่อย ตามได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ
– คายกคณะ (จาก วิกิพีเดีย)
แน่นอนว่า คริสต์มาสที่เป็นเทศกาลใหญ่ทางศาสนาคริสต์ ย่อมขาดคณะนักร้องนี้ไปไม่ได้เลย และเราก็น่าจะเคยได้ยินเพลงคริสต์มาสผ่านหูกันตั้งแต่เด็ก ทั้งเพลง Santa Claus is coming to town, Jingle Bells, ฯลฯ แต่เพลงที่โผล่ใน Li’l Gotham #3 นี้ มีอยู่สองเพลง คือ
– Rudolph the Red-Nosed Reindeer ที่ดิ๊กขอให้ท่านผบ.ร้องตอนต้นเรื่อง
– Silent Night ที่คายกคณะยุวชนและบ้านค้างคาวมาร่วมกันร้องให้มิสเตอร์ฟรีส
ตอนนี้ลองเปิดเพลง แล้วย้อนกลับไปอ่านใหม่อีกรอบซิคะ 😉
The Gotham Plaza Christmas Tree
ประเพณีหรือพิธีเปิดไฟต้นคริสต์มาสขนาดยักษ์กลางเมืองกอทแธมที่ปรากฏในเล่มนี้ มีต้นแบบมาจาก Rockefeller Center Christmas Tree ที่นิวยอร์ก ต้นแบบของกอทแธม (เหมือนกับพาเรดวันขอบคุณพระเจ้าในเล่มที่แล้ว) ซึ่งทุกปี จะมีต้นคริสต์มาสขนาดยักษ์มาตั้งอยู่ที่ Rockefeller Center กลางเมือง Manhattan ต้นไม้นี้จะถูกประดับด้วยหลอดไฟ และเปิดมันขึ้นราวๆปลายเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม ต้นไม้ที่ใช้ในงาน ซึ่งมักจะเป็นพันธุ์ Norway Spruce ที่สูงตั้งแต่ 69 ถึง 100 ฟุต (21 ถึง 30 เมตร) ได้ถูกนำมาตั้งทุกปี ตั้งแต่ 1933 เป็นต้นมา
ถึงแม้ประเพณีนี้จะเริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1933 (ซึ่งเป็นตอนที่ถนน 30 Rockefeller Plaza หรือ 30 Rock เปิดตัว) แต่ก็มีบันทึกไว้ว่า งานนี้มีมาอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ช่วงยุคที่อเมริกาโดนพายุดีเปรสชั่นถล่ม เศรษฐกิจตกต่ำ (ช่วงปี 1931-1932 ที่เรียกกันว่า Depression-Era) แล้ว โดยพวกคนงานก่อสร้างได้ตกแต่งต้น Balsam Fir เล็กๆ ขนาด 20 ฟุต (6.1 เมตร) ด้วย “เถาแครนเบอร์รี พวกดอกไม้กระดาษ แม้แต่พวกกระป๋องดีบุก” ในคืนวันคริสต์มาสอีฟ (24 ธันวาคม ปี 1931) ทว่า ในปี 1932 ก็ไม่มีการตกแต่งต้นไม้แต่อย่างใด
(ต้องขอบคุณข้อมูลจากพี่ doc holliday มาในที่นี้ด้วย m(_ _)m)
คริสต์มาสยุคหลังสงคราม
ต้นคริสต์มาสต์นั้ที่ถูกประดับตกแต่ง จะตั้งอยู่อย่างนั้นจนถึงวันที่ 6 มกราคม ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวคริสต์อีกวันหนึ่ง เรียกว่าวัน Epiphany เป็นวันที่พระคริสต์เกิดขึ้นมาได้ 12 วัน เพราะเชื่อกันว่า คืนที่เรียกว่า “Twelfth Night” (คืนที่สิบสอง) ได้มีกษัตรย์สามพระองค์นำของขวัญมาให้พระเยซู
ใครสนใจเรื่องราวเพิ่มเติมของเรื่องนี้ เชิญตามไปด้านล่างได้เลยค่ะ
– Rockefeller Center Christmas Tree (จาก Wikipedia)
– 6 มกราคม ( January 6 Epiphany day) (โดยคุณ PinePh)
จะว่าไปแล้ว หลายๆคนน่าจะเคยเห็นพิธีเปิดไฟต้นคริสต์มาส์ยักษ์กลางเมืองกอทแธมมาแล้วครั้งหนึ่ง จากหนังเรื่อง Batman Returns (1992) ที่กำกับโดย Tim Burton เพียงแต่ว่างานนั้นจบไม่สวยเท่าไหร่ เพราะถูกป่วนโดยเจ้าเพนกวิน แล้วก็โยนความผิดให้แบทแมนซะงั้นแทน
ดักแก่ใครบางคนกันเลยทีเดียว
ยังจำกันได้ไหมเอ่ย?
++——————————————————++
คุยแถมท้าย
ค่ะ สุขสันต์วันคริสต์มาสชนิดย้อนหลังนานนนนนมากกกกกก สำหรับทุกคนนะคะ พอดีช่วงที่ผ่านมาเราสอบใหญ่ เลยไม่ได้มาสปอยล์คอมมิคเลย ต้องขอโทษจริงๆค่ะ m(_ _)m
ในสปอยล์นี้ เราลองเรียบเรียงใหม่ให้รวบรัดกระชับขึ้น เน้นเนื้อๆ ซึ่งต่างจากเล่มที่แล้วที่ค่อนข้างละเอียดกว่า แต่ก็มีน้ำกว่า… จะเรียกสปอยล์นี้ว่าเป็นการทดลองก็ได้ 😛
เล่มนี้เป็นเล่มที่เราชอบมากเล่มหนึ่ง (จริงๆก็ชอบ Li’l Gotham ทุกเล่มแหละ 555+) เพราะโทนเรื่องจะจริงจังกว่าสองเล่มที่แล้ว เนื่องจากมีการใส่ประเด็นมุมมองของตัวร้ายขึ้นมา ใส่แง่มุมเด็กกำพร้าขึ้นมา ทำให้โทนเรื่องหม่นขึ้น (ตามแบบฉบับแบทแมน) แต่ก็ยังไม่ทิ้งลายเส้นง่ายๆแบบ Li’l Gotham ไป ซึ่งกลายเป็นว่า พอทั้งสองอย่างนี้มารวมกัน ก็ทำให้เกิดรสชาติที่ไม่เข้มเกินไป เหมาะสำหรับวันหยุด เพราะส่วนตัวเราเชื่อว่า ถ้าเกิดวาดเรื่องนี้เป็นลายเส้นจริงจังขึ้นมา มีเครียดแน่
สำหรับเล่ม #4 อดใจรอไม่นานค่ะ แต่แอบแง้มไว้ก่อนว่า ต่างกับสามเล่มที่ผ่านๆมาแน่นอน เพราะเปลี่ยนมุมจากแบทแมนไปเป็นตัวละครอื่น แต่จะเป็นใครนั้น ขออุบไว้ก่อนนะคะ แต่แง้มๆตรงนี้ว่า ไม่ใช่คนอื่นคนไกลของมนุษย์ค้างคาวเลย 😉
รู้สึกอบอุ่นจนไม่อยากเชื่อว่ามาจากเรื่องแบทแมน
อัลเฟรด โดนรังแก -*-
โอยย เป็นฉบับที่น่ารักมากๆอีกฉบับนึงเลยค่ะ ชอบที่คุุณแบมใส่ใจทุกรายละเอียดในเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจริงๆ ^ ^ สังเกตว่าเรียงใส่ชื่อจริงๆของเหล่าวิลเลียนด้วย อันนี้ชื่นชมจากใจนะคะ ^ ^
ลิล ก๊อทแฮมนี่เป็นเล่มที่อ่านแล้วอมยิ้มได้ทุกเล่มจริงๆล่ะค่ะ
ชอบหัวนี้จริงๆ อ่านแล้วทำเอาฮาอย่างมีความสุขได้ตลอดจริงๆ
หัวนี้นี่พี่บรู๊ซเราได้ใจจริงๆ เล่มแรกเลี้ยงเหล่าร้าย เล่มนี้พาวงไควเออร์ยุวชนมาร้องให้ฟรีซอีก แต่ดูหน้าเดเมี่ยนแล้วอยากมาจริงๆนะนั่น
ขอบคุณค้าบบบบบ Li’l Gotham เนี่ยน่ารักสุดๆไปเลย
เดเมียนป่วนน้อยไปหน่อย เอิ๊ก คาดว่าเล่มถัดไปจะป่วนกว่านี้….
ข้องใจตรงท้ายที่บอกว่ามีการจัดอย่างเป็นทางการที่ Rockfeller ตั้งแต่ปี 1933 แต่ไม่เป็นทางการ (อธิบายเหมือนจะเป็นก่อนหน้านั้น) ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ในช่วงปี 1939 – 1945 ไม่แน่ใจว่าหมายถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหรือเปล่า
แล้วก็ในวงเล็บผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ ที่บอกว่า “ถึงแม้ประเพณีนี้จะเริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1933 (ซึ่งเป็นปีที่ Rockefeller ส่วน Plaza ที่ 30 เปิดตัว)”
อันนี้คือ Rockfeller เริ่มปี 33 ส่วน Plaza ปี 30? หรือ Rockfeller ที่ถนน 30 street เปิดตัวในปี 33?
ขอบคุณครับ
ถ้าไม่ติดว่าความคิดแกออกจะเพี้ยนๆไปหน่อย Mr.Freeze เวอร์ชั่นนี้ก็เป็นคนดีไม่เลวนะเนี่ย
โอ้ อ่านแต่ตะหงิดๆ นิดนึง ไปค้นบ้าง สรุปว่าประเพณีตั้งต้นคริสต์มาสที่ตึกร็อคกี้เฟลเลอร์ เริ่มเป็นทางการในปี 1933
ซึ่งเป็นปีที่ “30 Rockefeller Plaza” (มีชื่อเล่นว่า 30 Rock) เปิดตัว ปัจจุบันคือตึก GE Building
(คือมันเป็นกลุ่มอาคารที่มีพลาซ่าหลายส่วน?)
เพราะงั้นใน quote น่าจะหมายถึง “Rockfeller ที่ถนน 30 street เปิดตัวในปี 33” นะครับ
ส่วนที่ไม่เป็นทางการก่อนหน้านั้นคือตอนก่อสร้างช่วงปี 1931-1932 เป็นยุคที่อเมริกาโดนพายุดีเปรสชั่นถล่ม เศรษฐกิจตกต่ำ
(Depression-Era มีหนังและการ์ตูนหลายเรื่องกล่าวถึงเยอะ อย่างเช่น Spider-Man Noir ก็เล่าเรื่องราวในยุคนี้)
ส่วนตรง “แต่ก็มีบันทึกไว้ว่างานนี้มีมาอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” นี่เลยทำให้สับสน
เพราะสงครามโลกครั้งที 2 มันเกิดทีหลังปี 1933
คือโดยความหมายมันน่าจะหมายความว่าเป็นทางการตั้งแต่ปี 33 แต่ไม่เป็นทางการมันน่าจะเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว
ใช่มั้ยครับ
มาชี้แจงและรับทราบข้อผิดพลาดของตัวเองค่ะ
เรื่อง Rockefeller Plaza ที่คุณแบงก์สงสัยนั้น เป็นไปอย่างที่พี่ด็อคอธิบายค่ะ ว่าเป็นปีที่ 30 Rock เปิดตัว
ส่วนเรื่องยุคสมัย Depression-Era นั้น เราเบลอเองค่ะ เพราะค้นหาข้อมูลว่ามันเป็นช่วงหลังสงคราม ด้วยความสะเพร่าเลยใส่ครั้งที่สองมาด้วย ตรงนี้ป็นข้อผิดพลาดจริงๆ และ ใช่ค่ะ งานต้นคริสต์มาสนี้ เริ่มอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ก่อนปี 1933 แล้ว
ต้องขอบคุณที่พี่ด็อคมาช่วยอธิบายเสริมสำหรับช่วงเวลานี้อีกครั้ง และขอโทษที่ทำให้ผู้อ่านทุกคนสับสนนะคะ m(_ _)m
ผมมาช้าตามเคย สนุกมากมากเลยอ่ะครับ
โหย สุดยอดเลยครับ
บอกตามตรงผมชอบหัวเรื่อง Li’l Gotham นี้มากๆเลย
ลายเส้นโดน เนื้อเรื่องก็น่ารักดีนะ
ในเล่มนี้ Mr.Freeze น่ารักจัง ฮ่าๆๆๆ